วันอาทิตย์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2556


แท่นแท๊นนนนนน....แอดมินมีเรื่องของงานศิลปะมาฝากค่ะ นั่นก็คือ การพับกระดาษนั่นเอง ซึ่งเป็นวิธีง่ายๆไม่กี่ขั้นตอนเหมาะสำหรับเด็กปฐมวัยค่ะ ^^



มาลองพับใบหน้าน้องหมากันดีกว่า....



 
 
 
วิธีทำสามารถทำตามรูปภาพได้เลยค่ะ ง่ายๆ ^^
 
 
 
 




มีใบหน้าน้องหมาแล้วก็ต้องมีใบหน้าน้องแมววว







วิธีทำใบหน้าแมว




 
 
 
 
นอกจากนี้เรายังสามารถนำไปเป็นสื่อในการสอนเด็กๆได้ด้วยค่ะ ไม่ว่าจะเป็นการเล่านิทาน การให้แรง
เสริมบวก ซึ่งเป็นอะไรที่เด็กๆชอบมากค่ะ ^^
 
 
ยังมีรูปแบบต่างๆในการพับกระดาษนะค่ะ สามารถคลิกเข้าดูเพิ่มเติมได้ที่
 
 
ตามลิงค์ที่ให้ไปเลยค่ะ ^^
 
 
 
สวัสดีจ้าาา...วันนี้แอดมินของเสนอบทเพลงที่น่าสนใจนำไปสอนเด็กๆได้ในกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ ซึ่งเป็นการประกอบการสอนได้ ซึ่งเด็กสามารถเรียนรู้ผ่านบทเพลง ท่าทางและยังเป็นการฝึกใช้ทักษะภาษาอีกด้วย

เต้นกันมันส์เลยทีนี้ 555 ลองดูกันดีกว่าว่ามีเพลงอะไรกันบ้างงงงง ^^ อิอิ


เพลง พระอาทิตย์ยิ้มแฉ่ง



บทเพลงนี้หลายๆโรงเรียนได้ใช้ในการเต้นตอนเช้าหลังเคารพธงชาติค่ะ ซึ่งเป็นบทเพลงที่เด็กๆชื่นชอบมาก และได้เรียนรู้เรื่องราวของวิทยาศาสตร์นั่งก็คือ พระอาทิตย์ นี้เองงงง



 
 
 
เพลง ออกกำลังกายรับแสงตะวัน
 
เพลงนี้จะมีเสียงสัตว์และท่าทางของสัตว์ให้เด็กๆได้เลียนแบบท่าทางกัน ซึ่งเป็นเพลงที่น่าสนุกมากค่ะ
 
 
 
 
เพลง  ล้างมือบ่อยบ่อย
 
เพลงนี้จะเป็นการสอนให้เด็กๆได้ฝึกการล้างมือที่ถูกต้อง ซึ่งมีทั้งหมด 7 วิธี และเด็กๆก็จะสามารถจำวิธีการล้างมือได้อย่างถูกต้องค่ะ
 
 
 
 
 
3 เพลงที่นำเสนอไปหวังว่าจะเป็นที่น่าพอใจนะค่ะ  ^^  //  แอดมิน
 
 
 
แหล่งวิดิโอ :  http://www.youtube.com/watch?v=2A7QgLK8Qy0
 
                      http://www.youtube.com/watch?v=T2I4kbiV8yQ

                      http://www.youtube.com/watch?v=vl-za6wEG0E

ศิลปะเป็นกิจกรรมอย่างหนึ่งที่จะทำให้เด็กได้ระบายอารมณ์และความรู้สึก ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เด็กได้ผ่อคลายและฝึกทักษะกล้ามเนื้อมือ อีกทั้งยังส่งเสริมจินตนาการของเด็กๆวัยนี้อีกด้วยค่ะ   ลองไปจัดกิจกรรมศิลปะดูนะค่ะรับรองว่าเด็กๆต้องชอบอย่างแน่นอนค่ะ   ^_^
 
 
 
 
 
การจัดกิจกรรมศิลปะให้กับเด็กปฐมวัย
การจัดกิจกรรมศิลปะให้กับเด็กปฐมวัยในแต่ละวัน นับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับเด็กปฐมวัย นอกจากจะได้พัฒนาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเล็กและการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับสายตาแล้ว กิจกรรมศิลปะยังสอดคล้องกับแบบแผนการเรียนรู้ของสมอง หรือที่เรียกว่า Brain Base Learning (BBL) อีกด้วย เด็กจะได้ฝึกปฏิบัติจริง มีประสบการณ์ตรง เรียนรู้ผ่านการสังเกตและฝึกกิจกรรมอย่างหลากหลาย เพื่อพัฒนาจุดเชื่อมต่อของใยประสาท ภายใต้สภาพแวดล้อมที่ผ่อนคลาย มีอิสระทางความคิด

กิจกรรมศิลปะ เป็นกิจกรรมที่สามารถพัฒนากล้ามเนื้อเล็กได้เป็นอย่างดี และยังเชื่อมโยงพัฒนาการของอวัยวะหลายส่วน ทำให้เกิดจุดเชื่อมต่อของใยประสาทที่สามารถพัฒนาไปสู่แบบแผนการเรียนรู้ของสมอง ในการจัดกิจกรรมศิลปะหรือกิจกรรมสร้างสรรค์ ครูควรจัดกิจกรรมให้เด็กมีประสบการณ์ตรงและฝึกปฏิบัติอย่างหลากหลาย

หากย้อนอดีต สะท้อนประสบการณ์เดิมด้านการเรียนการสอนศิลปะ คุณครูจะให้นักเรียนวาดภาพทิวทัศน์ในกระดาษวาดเขียน แนวคิดเดิม ๆ คือ ภาพทิวทัศน์จะมีดวงอาทิตย์อยู่ตรงกลางระหว่างภูเขา มีก้อนเมฆ มีต้นมะพร้าวหรือต้นไม้อื่น มีน้ำทะเล มีเรือใบ มีนกบิน ฯลฯ

แต่ยุคปัจจุบันการสอนศิลปะเด็กปฐมวัย จะต้องจัดกิจกรรมให้เด็กอย่างหลากหลายรูปแบบ เช่น
- กิจกรรมวาดภาพระบายสี
- กิจกรรมเล่นกับสีน้ำ เช่น เป่าสี หยดสี พับสี ระบายสีด้วยนิ้วมือ ฝ่ามือ
- กิจกรรมการพิมพ์ภาพด้วยส่วนต่าง ๆ ของร่างกายและวัสดุต่าง ๆ
- กิจกรรมการปั้น ขยำดินเหนียว ดินน้ำมัน แป้งโด กระดาษ ฯลฯ
- กิจกรรมการพับ ฉีก ตัด ปะ
- กิจกรรมการร้อย สาน และการออกแบบ
- กิจกรรมการฝนสีด้วยกระดาษทราย
ฯ ล ฯ

ในการจัดกิจกรรมดังกล่าว ครูสามารถส่งเสริมประสบการณ์การเรียนรู้ที่เพิ่มจุดเชื่อมต่อของใยประสาท โดยส่งเสริมให้เด็กสังเกตรายละเอียดของสิ่งต่าง ๆ พัฒนาการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับสายตา การพัฒนาระบบกายสัมผัสโดยให้เด็กมีโอกาสสัมผัสรับรู้วัสดุที่มีผิวสัมผัสต่างกันในระหว่างทำกิจกรรมสร้างสรรค์ เช่น ผ้ากระสอบ ผ้าสักหลาด กำมะหยี่ กระดาษทราย กระดาษที่มีผิวสัมผัสต่างกัน ฯลฯ

ระหว่างทำกิจกรรมศิลปะ ครูต้องจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม เช่น แสงสว่างพอเหมาะ มีเสียงดนตรีเบา ๆ บรรยากาศผ่อนคลาย ทำให้เกิดการเชื่อมโยงสมองส่วนประสาทสัมผัสกับสมองส่วนที่คุมกล้ามเนื้อพร้อม ๆ กัน การเชื่อมโยงสมองซีกซ้ายเข้ากับซีกขวาที่เป็นด้านจินตนาการ ดังนั้น งานศิลปะจึงไม่ควรเป็นการลอกเลียนแบบหรือต้องทำให้เหมือนจริง รวมทั้งไม่เน้นความถูกต้องของสัดส่วน แต่ส่งเสริมพัฒนาการทางอารมณ์ สังคม และความคิดสร้างสรรค์ ทำให้เด็กสนุกสนาน ซึมซับความงามของสิ่งต่าง ๆ รอบตัว มีความมั่นใจ ภาคภูมิใจในผลงานของตน ควบคู่กับความสามารถถ่ายทอดการรับรู้ภายในด้านมิติ รูปทรง ขนาด ระยะ ฯลฯ ตามจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์เด็ก
 
 


 
 
ศิลปะกับเด็กปฐมวัย
เด็กในช่วงวัยนี้โครงสร้างสมองซีกขวาซึ่งเกี่ยวกับศิลปะ จินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ดีมาก ถ้าส่งเสริมอย่างถูกทิศถูกทางและทำให้เกิดพัฒนาการอย่างต่อ เนื่อง แต่เมื่อไหร่ที่เราไปขัดขวางพัฒนาการ บีบบังคับ สร้างความเป็นระบบแบบแผนมากเกินไป ล้วนแล้วแต่เป็นตัวขัดขวางจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก
การศึกษาไทยยังไม่มีความเข้าใจในการพัฒนาเด็กให้มีความคิดสร้างสรรค์ จะเห็นว่าทุกวันนี้เรา พยายามสร้างกระบวนการคิดสร้างสรรค์ให้แก่เด็กไทยมากขึ้น หากแต่บางครั้งก็ยังไม่มีความเข้าใจมากพอ เด็กแต่ละวัยมีความแตกต่างกันในการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างกระบวนการคิดสร้างสรรค์จึงต้องต่างกันไป
เด็กในระดับชั้นปฐมวัย จึงจำต้องสร้างกระบวนการเรียนรู้ เราจะเน้นให้เด็กเกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลิน เมื่อเขาสนุกและเพลิดเพลิน แล้วจะทำให้เขาสามารถคิดอะไรได้แปลกใหม่อย่างมีอิสระ และเสรีภาพ คนที่จะสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้เด็กต้องเข้าใจ มิฉะนั้นจะไม่สามารถสร้าง สถานการณ์ของการเรียนการสอนได้ ในการพัฒนาเสรีภาพการเขียนการคิดได้อย่างแท้จริง
วิชาศิลปะเป็นวิชาที่เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความคิดจินตนาการได้เต็มที่ตาม ที่ได้เห็น เด็ก สามารถสร้างจินตนาการได้กว้างกว่าที่เราจะคาดเดาได้ บางที ก็อาจจะสะท้อนจิตใจความรู้สึกของ เด็กที่บางที่ไม่สามารถถ่ายทอดเป็นคำพูดได้แต่สามารถถ่ายทอดมาทางงานศิลปะได้ วิชา ศิลปะเป็น ฐานทางการศึกษาพัฒนาการเด็กซึ่งควรเริ่มตั้งแต่เด็กยังเล็กอยู่การ เรียนการสอนศิลปะสำหรับเด็ก ปฐมวัยนั้นจะมุ่งเน้นถึงพัฒนาการด้านต่างๆของ เด็กมากกว่าผลงาน ดังนั้นจะเห็นว่ากิจกรรมต่างๆ ทางศิลปะจะเป็นการฝึกกล้ามเนื้อมือให้แข็งแรง และสัมพันธ์กับการใช้ตา เช่นการปั้นแป้ง ดินน้ำมัน วาดรูป และระบายสี เด็กได้ใช้ส่วนต่างๆของนิ้วมือ แขน ไหล่ และส่วนอื่นๆของร่างกาย เป็นการ เตรียมความพร้อมในด้านการใช้กล้ามเนื้อใหญ่-เล็กเป็นอย่างดี ทำให้เด็กสามารถหยิบจับสิ่งต่างๆได้ อันจะนำไปสู่การเรียนของเด็กต่อไป
ศิลปะกับความคิดสร้างสรรค์ นักจิตวิทยาทางการศึกษาทั่วโลกเชื่อกันว่าเด็กทุกคนมีความคิด ริเริ่มสร้างสรรค์ และสามารถพัฒนาให้เจริญงอกงามได้ตามระดับความสามารถของแต่ละบุคคล ถ้า หากเด็กนั้นๆได้รับการเสริมและสนับสนุนให้มีการแสดงออกภายใต้ บรรยากาศที่มีเสรีภาพ สำหรับ เด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์ในตัว สามารถพิจารณาจากพฤติกรรมได้หลายด้านดังนี้
1.การเป็นผู้กระตือรือร้นอยู่ตลอดเวลา
2.การเป็นผู้สร้างสรรค์สิ่งต่างๆด้วยความคิดของตนเอง
3.การเป็นผู้ชอบสำรวจตรวจสอบความคิดใหม่ ๆ
4.การเป็นผู้เชื่อมั่นในความคิดของตัวเอง
5.การเป็นผู้สอบสวนสิ่งต่างๆ
6.การเป็นผู้มีประสาทสัมผัสอันดีต่อความงาม
จะเห็นได้ว่าการสร้างสรรค์ คือการ เจริญงอกงามทั้งด้านความคิด ร่างกาย และ พฤติกรรม และศิลปะคือ เครื่องมือที่ดีและเหมาะสมที่สุดในการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ เพราะ กระบวนการทางศิลปะไม่มีขอบเขตแห่งการสิ้นสุด สามารถสร้างความเพลิดเพลินให้แก่เด็กได้ตลอด เวลานอกจากนี้ยังช่วยให้เด็ก เกิดความคิดที่ต่อเนื่องอย่างไม่จบสิ้น และก้าวไปยังโลกแห่ง จินตนาการอย่างไม่มีขอบเขต
การวาดรูประบายสี เป็นอีกกิจกรรมหนึ่งซึ่งช่วยในการทำงานประสานกันระหว่างมือและตา เด็กจะ รู้จัก สี เส้น รูปทรง พื้นผิว ขนาดที่จะต้องพบในชีวิตประจำวันของเขา ภาพที่จะเห็นต่อไปนี้เป็นภาพ ที่วาดโดยเด็กปฐมวัยอายุ 3- 4 ขวบ เป็นภาพที่วาดตามความคิดและจินตนาการของเด็กเป็นอีก กิจกรรมหนึ่งซึ่งช่วยใน การทำงานประสานกันระหว่างมือและตา เด็กจะรู้จัก สี เส้น รูปทรง พื้นผิว ขนาดที่จะต้องพบในชีวิตประจำวันของเขา
การปั้น การปั้นดินน้ำมันหรือ ดินเหนียว แป้งโด ฯลฯ มาปั้นเป็นรูปต่างๆตามจินตนาการของเด็กแต่ ละคนซึ่งจะแตกต่างกันไป เป็นการฝึกสมาธิ และพัฒนากล้ามเนื้อส่วนต่างๆของเด็กเด็กจะได้เรียนรู้ รูปร่างต่างๆ
การพับกระดาษ เป็นกิจกรรมในการพัฒนาจิตใจและสร้างเสริมความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก ทำให้เด็กเกิดความสนใจ และรู้สึกสนุกจึงทำซ้ำแล้วซ้ำอีก และเรียนรู้ความสัมพันธ์ระหว่างความเคลื่อนไหวของมือและการเปลี่ยนแปลงของรูปร่างจากกระดาษที่พับ
การฉีก-ปะกระดาษ เป็นกิจกรรม ที่ช่วยส่งเสริม การใช้ทักษะมือ และนิ้วมือ ที่เราเรียกว่ากล้ามเนื้อมัดเล็ก กล้ามเนื้อส่วนนี้จะทำงานได้ดีต้องอาศัยการประสานสัมพันธ์ระหว่างตา กับมือด้วย
การพิมพ์ การพิมพ์ภาพเป็นการสร้างภาพหรือลวดลายที่เกิดจากการนำวัสดุหลายๆประเภท เช่น ใบไม้ กิ่งไม้ ก้านกล้วย หรืออวัยวะของร่างกาย เช่น มือ เท้า มาใช้เป็นแม่พิมพ์กดทับลงบนสีแล้วนำไป พิมพ์บนกกระดาษหรือผ้าก็ได้
การเป่าสี คือการนำสีน้ำหรือสีโปสเตอร์ ผสมกับน้ำให้สีข้นพอสมควร โดยการหยดสีลงบนกระดาษ ใช้หลอดกาแฟจ่อปลายหลอดที่สี แล้วเป่าให้สีกระจาย จะได้ภาพสวยงามหลายหลากสี
การประดิษฐ์เศษวัสดุ เป็นการช่วยส่งเสริมให้เด็กเห็นคุณค่าการประยุกต์ให้เศษวัสดุใกล้ตัว ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม เกิดความภาคภูมิใจต่อผลงานของตนเอง ส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ด้วยการลงมือกระทำ มีส่วนร่วมทั้งความคิด จิตใจ สมอง เกิดความประทับใจ เรียนรู้ด้วยความเข้าใจ จะทำให้เด็กค่อยๆ เกิดความคิด สร้างจินตนาการ นำไปสู่การคิดค้น การแก้ปัญหาและสร้างสรรค์งานใหม่ได้
สรุปแล้ว การเรียนศิลปะช่วยพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างไร
ทำให้เด็กได้ฝึกการใช้จินตนาการอย่างอิสระ ซึ่งจะมีผลให้เด็กเป็นคนกล้าคิด กล้าริเริ่มสิ่ง ใหม่ๆทำให้เด็กได้แสดงออกถึงสิ่งที่ตนคิดและรู้สึกโดยเฉพาะในเด็กเล็กที่ยังไม่สามารถสื่อสารทางตัว อักษรได้ดีทำ ให้เด็กรักการทำงานและมีความภาคภูมิใจในตนเอง เมื่อการสร้างสรรค์งานศิลปะของ เด็กแต่ละชิ้นเสร็จสิ้นลง เด็กจะรู้สึกภาคภูมิใจกับผลงานของเขามาก ทำให้กระตือรือร้นที่จะสร้างผล งานชิ้นใหม่ต่อไปช่วย ฝึกความประณีตและสมาธิเพราะในขณะที่เด็กพยายามควบคุมมือให้สามารถวาด ระบายสีหรือประดิษฐ์สิ่งหนึ่งสิ่งใดให้สำเร็จนั้นต้องใช้ความตั้งใจ ความพยายามและใช้สมาธิที่แน่วแน่ มั่นคงตามวุฒิภาวะของเด็กแต่ละวัย ทำ ให้เด็กเป็นคนมีสุนทรียภาพ มีความละเอียดอ่อนในจิตใจ ทำ ให้รู้คุณค่าในธรรมชาติ ศิลปะ วัตถุ หรือรูปแบบความคิดต่างๆ ทำให้มีชีวิตและจิตใจที่งดงาม ฝึก ให้ เด็กรู้จักการทำงานร่วมกัน รู้จักปรับตัวและปรับความคิดให้สอดคล้อง ยอมรับซึ่งกันและกัน อันเป็นพื้นฐานของการอยู่ร่วมกันอย่างสามัคคีและเป็นประชาธิปไตยในสังคม
 
 
 
 
แหล่งอ้างอิง :  http://www.learners.in.th/blogs/posts/420889
 

10 เคล็ดลับในการช่วยลูกให้รักการอ่าน
เราทราบกันดีว่า การอ่านหนังสือให้ลูกฟังจะช่วยทำให้ลูกเราเป็นเด็กที่รักการอ่าน แล้วทำแค่นี้เพียงพอแล้วหรือ เราควรจะหยุดอยู่แค่นี้หรือไม่ หรือมีอะไรบ้างที่เราสามารถทำได้เพื่อลูกเราจะได้เป็นเด็กรักการอ่าน ลองมาอ่านดูวิธีการช่วยให้ลูกเรารักการอ่านกันดีกว่าค่ะ
  1. เพิ่มการแสดงเข้าไปด้วย แทนที่จะอ่านหนังสือเรื่องเก่าๆ เดิมๆ ลองปรับเปลี่ยนวิธีใหม่ ลองพากษ์เสียงตัวละครแต่ละ ตัวให้แตกต่างกันออกไป อ่านแบบมีเสียงสูงต่ำ และทำให้ลูกอยากฟังต่อโดยการหยุดนิดหน่อยแล้วเริ่มอ่านต่อ แสดงอารมณ์ ความรู้สึกของตัวละครผ่านสีหน้าของคุณ ใช้มือช่วยในการแสดงท่าทาง คือออกเเอ๊คติ้ง ดราม่ามากๆ เด็กๆชอบ ทำให้ลูกหัวเราะ ทำให้ลูกตื่นเต้น ลูกก็จะชอบเวลาเราอ่านหนังสือให้ฟังค่ะ
  2. สนับสนุนให้ลูกมีส่วนร่วม เมื่อเราอ่านหนังสือให้ลูกวัยก่อนอนุบาลของเราฟัง ให้หยุดอ่านในหลายๆช่วง และตั้งคำถาม ชวนลูกคุยเกี่ยวกับเนื้อเรื่องของนิทานเรื่องที่อ่าน ชวนลูกคิดตอนจบของเรื่องด้วยกัน และลองช่วยกันตั้งชื่อตัวละครใหม่
  3. ชวนลูกคุยเกี่ยวกับหนังสือ ผลประโยชน์จากการอ่านหนังสือให้ลูกฟังใช่ว่าจะหมดไปหลังจากที่เราอ่านหนังสือเล่มนั้นจบลง หลังจากที่เราอ่านหนังสือจบเเล้ว ให้ลองชวนลูกคุยเกี่ยวกับหนังสือในช่วงระหว่างวัน เปรียบเทียบสิ่งที่เกิดขึ้นในหนังสือกับชีวิตจริง หรือถามลูกว่าตัวละครในหนังสือจะจัดการกับสถานการณ์นี้อย่างไร นำคำศัพท์หลักที่เราได้อ่านให้ลูกฟังมาใช้ เพื่อให้ลูกเห็นถึงความแตกต่างของคำนั้นๆในบริบทที่ต่างกันออกไป
  4. แนะนำหนังสือในรูปแบบที่ต่างกันออกไป ทำไมเราต้องรอให้ถึงเวลานอนก่อนค่อยอ่านหนังสือให้ลูกฟัง? สำหรับเด็กทารก เด็กเล็ก เด็กวัยเตาะแตะ เวลากินข้าว หรืออาบน้ำก็เป็นเวลาที่สนุกกับการอ่านหนังสือได้เหมือนกัน
  5. ลองสมัครสมาชิกหนังสือให้ลูก หนังสือเด็กในปัจจุบันมีมากมายหลายแบบ จนเราเองก็เลือกไม่ถูกว่าแบบไหนดีที่สุด แบบนั้นก็ดี แบบนี้ก็น่าสน แต่บางทีงบน้อยทุนน้อยก็ได้แต่เมียงๆมองๆ ลองมองหานิตสารเด็ก ที่มีเนื้อหาเหมาะกับเด็ก หรือมีแม้แต้เว็บไซต์ออนไลน์ต่างๆที่มีหนังสือให้ดาวน์โหลดฟรี และนำหนังสือเหล่านั้นมาอ่านให้ลูกฟัง มีหลายๆเว็บที่เรา สามารถดาวน์โหลดหนังสือเป็น PDF ได้ ซึ่งถ้าใครมี iBooks ใน iPad เราสามารถเปิดไฟล์ผ่าน App นี้ได้ ก็นำหนังสือใน iPad มาอ่านให้ลูกฟังได้เหมือนกัน (คำเตือน iPad สิ่งล่อใจเยอะค่ะ เด็กอาจจะเลื่อนปื๊ดไปที่เกมแทนที่จะอ่านหนังสือ )
  6. ค้นหาหนังสือฟรีต่างๆที่มีอยู่ในเว็บ เดี๋ยวจะเเปะลิ๊งค์ตอนท้ายนะคะ พ่อแม่ท่านใดมีเว็บอื่นที่อยากนำมาแบ่งปัน ก็ช่วยๆกันเเปะนะคะ เพื่อนๆจะได้มีเเหล่งหาหนังสือดีๆมาอ่านกัน แต่ต้องเป็นไฟล์ที่แชร์ได้ ไม่ใช่ลิขสิทธิ์นะคะ
  7. ชวนลูกอ่านอย่างอื่นที่ไม่ใช่หนังสือ ในระหว่างวัน ลูกเราเจอสิ่งพิมพ์ต่างๆมากมาย เวลาขับรถไปไหนมาไหน ลองชวนลูกอ่านป้ายโฆษณา หนังสือพิมพ์ ซองขนม กล่องซีเรียล ลายตามเสื้อผ้า ป้ายจราจร หรืออื่นๆ เด็กๆชอบค่ะ เป็นการสร้างบรรยากาศการอ่านหนังสือที่เเปลกใหม่
  8. แนะนำหนังสือสุดโปรดของเราให้ลูกลองอ่านดู คิดว่าหลายคนคงมีหนังสือเล่มที่เราชอบมากเมื่อเรายังเป็นเด็กใช่ไหมคะ ลองแนะนำหนังสือเล่มนั้นให้ลูกเรา ลองอ่านให้ลูกฟัง และบอกลูกว่าตอนเราตัวเล็กๆเท่าลูก นี่คือหนังสือสุดรักของเรา คิดว่าวิธีนี้จะช่วยให้ลูกสนใจหนังสือเล่มนั้นขึ้นมาบ้าง ไม่มากก็น้อยค่ะ
  9. ลองไปเป็นอาสาสมัครอ่านหนังสือให้เด็กฟังในโรงเรียนของลูก ถ้าลูกเราเข้าเดย์แคร์ หรือเตรียมอนุบาล ลองติดต่อครูขอเป็นอาสาสมัครอ่านหนังสือให้เด็กฟังดูนะคะ ลูกจะเห็นเราเป็นฮีโร่ในการอ่านหนังสือ และอยากให้เราอ่านหนังสือให้ฟัง เพิ่มยิ่งขึ้น
  10. พาลูกเข้าห้องสมุด ห้องสมุดเป็นเเหล่งความรู้ที่สำคัญมาก การที่ลูกเราคุ้นเคยกับห้องสมุด หรือไปฟังนิทานตามห้องสมุด ก็จะช่วยให้ลูกเรารักการอ่านมากยิ่งขึ้น


































แหล่งอ้างอิง :  http://kroopohmae.com/group/articles/forum/topics/reading-tips

สวัสดีค่ะวันนี้แอดมินมีเรื่องราวเกี่ยวกับการสอนเด็กให้มีคุณธรรมจริยธรรมมาฝากค่ะ ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของสังคมไทย ดังนั้นควรเริ่มสอนเขาตั้งแต่เด็กเล็กและเริ่มจากสถาบันครอบครัวและโรง
เรียนค่ะ


วิธีสร้างเสริมคุณธรรมจริยธรรมของเด็กปฐมวัย

สภาวะปัญหาทางสังคมเป็นตัวบ่งชี้ให้การพัฒนาคุณธรรมเป็นสิ่งที่ควรให้ความสนใจมากขึ้น ซึ่งการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมต้องเริ่มต้นกันตั้งแต่วัยเด็ก หรือปฐมวัย ซึ่งเป็นวัยที่ฝึกและสร้างการเรียนรู้ได้ง่าย หากการเสริมสร้างเป็นไปอย่างสอดคล้องกับวัย จะทำให้เด็กเกิดการซึมซับและพัฒนาได้เต็มที่ ครูและผู้ปกครอง รวมถึงสังคม คือผู้รับผิดชอบควรส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมสำหรับเด็กปฐมวัย

สาเหตุของปัญหา ได้แก่

1. ค่านิยมวัฒนธรรมทางสังคมที่เปลี่ยนช่วง ทำให้คนสนใจสิ่งนอกกายมากกว่าความสำคัญและความสมบูรณ์ของจิตใจ

2. โลกไร้พรมแดน กระแสนิยมข้ามชาติได้หันเข้าสู่ประเทศไทย ทำให้คนไทยหันไปบริโภค ใช้เงินเป็นเกณฑ์ในการบำรุงบำเรอชีวิต

3. ระบบการศึกษาเชิงพานิชย์ เช่นโฆษนาว่า ถ้าจบภายในสามปีมีค่าเทอม

4. สื่อสารมวลชนมองไม่เห็นความสำคัญ เห็นทุนนิยมแต่ไม่เห็นคุณค่าของสังคม

5. พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ให้ความสนใจ ที่จะแก้ปัญหาเด็กเพราะมีภารกิจมากมายจนลืมที่จะแก้ปัญหาให้เด็ก แถมยังก่อให้เกิดปัญหามากขึ้น

อิริคสัน ( Erikson ) ผู้พัฒนาทฤษฎีพัฒนาการทางจิตสังคม มีแนวคิดจริยธรรมว่าเป็นเรื่องของจิตและสังคม คนเราเติบโตตามวัยก็จริง แต่จะพัฒนาตามสังคมและสิ่งแวดล้อมรอบตัว มีความเป็นตัวตนชัดเจน ถ้าพัฒนา Ego ที่เข้มแข็งจากการเลี้ยงดูและประสบการณ์เรียนรู้ที่ดี ซึ่งต้องได้รับมาตั้งแต่เกิด พ่อแม่สร้างความไว้วางใจให้เด็ก การอบรมจริยธรรมและจิตใจต้องไปด้วยกัน ผู้ใหญ่ต้องเป็นแม่แบบทางคุณธรรมให้เด็ก

การสอนปฐมวัย
เรื่อง : วิธีสร้างเสริมคุณธรรมสำหรับเด็กปฐมวัย
         
คุณธรรมที่ต้องปลูกฝังเมื่อยังเยาว์

1. เข้าใจความรู้สึกของผิอื่น เอาใจเขามาใส่ใจเรา

2. มีมโนสำนึกที่ดี ช่วยกันสร้างสำนึกที่ดี

3. รู้จักควบคุมตนเอง ในการที่จะกระทำในสิ่งที่ถูกที่ควร

4. การเอาใจใส่ให้การยอมรับนับถือ เด็กควรได้เรียนรู้ รู้จักขอโทษ รู้จักขอบคุณ นอบน้อมผู้ใหญ่ มีสัมมาคารวะ

5. เมตตาปราณี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อผู้อื่น

6. อดทนอดกลั้น ฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และรู้จักการรอคอย

7. มีความยุติธรรม ด้วยการเรียนรู้แบ่งปันกัน

สรุป การสร้างคุณธรรมเด็กปฐมวัย ต้องพัฒนาความเข้าใจ ความรู้สึกของผู้อื่น การมีจิตสำนึกที่ดี และรู้จักควบคุมตนเอง เป็นปัจจัยเบื้องต้น 
 


ลิงค์ VDO ที่เกี่ยวข้องสามารถนำเพลงมาใช้ในกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะได้ค่ะ ซึ่งเนื้อหาของเพลงจะสอนให้เด็กเป็นคนดีค่ะ ^^




แหล่งอ้างอิง :  http://www.kmlop1.net/?name=research&file=readresearch&id=133
                        http://www.youtube.com/watch?v=HkNZoqn_RzI